เมนู

ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม 5 ประการนี้ในตน พึงเข้าไป
ตั้งธรรม 5 ประการนี้ไว้ในตน แล้วจึงโจทผู้อื่น.
จบกุสินาราสูตรที่ 4

อักโกสวรรคที่ 5


อรรถกถากุสินาราสูตรที่ 4


วรรคที่ 5

กุสินาราสูตรที่ 4 พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้.
บทว่า กุสินารายํ ได้แก่ นครมีชื่ออย่างนี้ ชนทั้งหลาย่อมนำพลี
ไปเซ่น เพื่อประโยชน์แก่เทวดาทั้งหลายในที่นี้ เหตุนั้นที่นั้นจึงชื่อว่า
พลิหรณะ เป็นที่นำพลีไปเซ่น. ในที่นำพลีไปเซ่นนั้น. ในบทว่า อจฺฉิทฺ-
เทน อปฺปฏิมํเสน
เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้. ความประมาท
หรืออเนสนากรรมมีเวชกรรมเป็นต้น ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งกระทำแล้ว
กายสมาจารของภิกษุนั้น ย่อมเป็นช่องดุจใบตาลที่ตัวปลวกเป็นต้นกัดแล้ว
และชื่อว่าบกพร่อง เพราะอาจจะจับต้อง คือจับที่ใดที่หนึ่งคร่ามาได้
กายสมาจารตรงกันข้าม ชื่อว่าไม่มีช่องไม่บกพร่อง. ส่วนวจีสมาจาร
ชื่อว่าเป็นช่องบกพร่อง เพราะพูดเท็จพูดทิ่มแทงพูดส่อเสียด โจทด้วย
อาบัติที่ไม่มีมูลเป็นต้น วจีสมาจารตรงกันข้าม ชื่อว่าไม่มีช่องไม่บกพร่อง.
บทว่า เมตฺตํ นุ โข เม จิตฺตํ ได้แก่ เมตตาจิตที่ภิกษุตัดกังวลได้มาด้วย
การประกอบเนือง ๆ ซึ่งกรรมฐานภาวนา. บทว่า อนาฆาตํ ได้แก่ เว้น
อาฆาต อธิบายว่า กำจัดอาฆาตด้วยการข่มไว้. บทว่า กตฺถ วุตฺตํ ความว่า
สิกขาบทนี้ ตรัสไว้ที่นครไหน.

ในบทว่า กาเลน วกฺขามิ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ภิกษุ
ให้ภิกษุอื่นกระทำโอกาส ๆ หนึ่งแล้วโจท ชื่อว่ากล่าวโดยกาล. โจท
กลางสงฆ์ กลางคณะ ที่โรงสลาก โรงยาคู โรงภัต โรงตรึก หนทาง
ภิกษาจารและศาลฉัน ที่ศาลเฝ้า [บำรุง] หรือในคณะพวกอุปัฏฐาก
ปวารณา ชื่อว่ากล่าวโดยมิใช่กาล กล่าวด้วยเรื่องที่แท้จริง ชื่อว่ากล่าว
ด้วยเรื่องจริง กล่าวว่า พ่อมหาจำเริญ ตาแก่ พ่อทำลายบริษัท พ่อถือ
บังสุกุล พ่อนักเทศก์ นี้สมควรแก่พ่อหรือ ชื่อว่า กล่าวด้วยคำหยาบ
กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านผู้เฒ่า ท่านผู้อนุเคราะห์บริษัท ท่านผู้ทรงผ้า
บังสุกุล ท่านธรรมกถึก นี้สมควรแก่ท่านหรือ ชื่อว่า กล่าวด้วยคำไพเราะ.
กล่าวอาศัยเหตุ ชื่อว่า กล่าวด้วยคำอิงประโยชน์. บทว่า เมตฺตจิตฺโต
วกฺขามิ โน โทสนฺตโร
ความว่า เราจะตั้งเมตตาจิตกล่าว ไม่มีประทุฐจิต
กล่าว.
จบอรรถกถากุสินาราสูตรที่ 4

5. ปเวสนสูตร


ว่าด้วยโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นใน 10 ประการ


[45] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นใน
มี 10 ประการ 10 ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชา
ในโลกนี้ประทับอยู่กับพระมเหสี ภิกษุเข้าไปในที่นั้น พระมเหสีเห็นภิกษุ
นั้นแล้วย่อมทรงยิ้มแย้ม หรือภิกษุเห็นพระมเหสีแล้วยิ้มแย้มก็ดี พระราชา
ก็จักทรงสงสัยในอาการนั้นอย่างนี้ว่า คนทั้งสองนี้คงได้ทำแล้ว หรือจัก